รายละเอียดต่างๆเกี่ยวกับเกจิจังหวัดระยองเเละบทความสำคัญต่างๆทั่วโลก
- ความหมายของพระบรมสารีริกธาตุ (1)
- คุณลักษณะของพระบรมสารีริกธาตุ (1)
- โฉลกพระเครื่องประจำปีเกิด บูชาพระเครื่องตามวัน เดือน ปี เกิด (1)
- ชนิดพระบรมสารีริกธาตุ (1)
- ตลาดนัดพระเครื่องในรอบสัปดาห์ (1)
- ประวัติ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต สกลนคร (1)
- ประวัติการสร้างกุมารทองหลวงพ่อสาคร วัดหนองกรับ ระยอง (1)
- ประวัติการสร้างพระเครื่องหลวงพ่อทาบ วัดกระบกขึ้นผึ้ง ระยอง (1)
- ประวัติครูบาอภิชัย คำมูล (คำมูล อภิวํโส) เชียงใหม่ (1)
- ประวัติท่านพ่อทอก ธม.มรต.ตโน วัดหนองชิ่ม จ.จันทบุรี (1)
- ประวัติพระคาถาพระปัจเจกะโพธิ์โปรดสัตว์ (1)
- ประวัติพระราชสุเมธาจารย์ (โรเบิร์ต สุเมโธ) ประเทศอังกฤษ (1)
- ประวัติโรงกษาปณ์ไทย (1)
- ประวัติหลวงตาพระมหาบัว ญาณสมฺปนฺโน (1)
- ประวัติหลวงปู่กอง จันทวังโส อยุธยา (1)
- ประวัติหลวงปู่จันทร์โสม กิตฺติกาโร อุดรธานี (1)
- ประวัติหลวงปู่ดูลย์ อตุโล สุรินทร์ (1)
- ประวัติหลวงปู่บัว สิริปุณโณ อุดรธานี (1)
- ประวัติหลวงปู่ผั่น ปาเรสโก จังหวัดยโสธร (1)
- ประวัติหลวงปู่ฟัก สนฺติธมฺโม จันทบุรี (1)
- ประวัติหลวงปู่สาม อกิญจโน สุรินทร์ (1)
- ประวัติหลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม วัดป่าสาลวัน นครราชสีมา (1)
- ประวัติหลวงปู่สุวัจน์ สุวโจ บุรีรัมย์ (1)
- ประวัติหลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล อาจารย์ใหญ่สายกรรมฐานภาคอีสาน (1)
- ประวัติหลวงปู่หลวง กตปุญโญ ลำปาง (1)
- ประวัติหลวงพ่อกัสสปมุนี เถราจาริย์ วัดปิบผลิวนาราม อ.บ้านค่าย ระยอง (1)
- ประวัติหลวงพ่อจรัญ สิงห์บุรี (1)
- ประวัติหลวงพ่อตัด ปวโร "พระพุทธวิริยากร" วัดชายนา เพชรบุรี (1)
- ประวัติหลวงพ่อโต แห่งวัดเขาบ่อทอง วัดเขากระโดน (1)
- ประวัติหลวงพ่อเพ่ง ระยอง (1)
- ประวัติหลวงพ่อเพชร วัดตะปอนใหญ่ จันทบุรี (1)
- ประวัติหลวงพ่อฤาษีลิงดํา วัดท่าซุง อุทัยธานี (1)
- ประวัติหลวงพ่อสาคร ระยอง (1)
- ประวัติหลวงพ่อสิน ภทฺทาจาโร ระยอง (1)
- ประวัติหลวงพ่อเสริฐ เขมะโก ระยอง (1)
- ประวัติเหรียญแต้เม้งทงป้อ รัชกาลที่4 (1)
- ประวัติเเม่ใหญ่ โยมอุบาสิกาสุ่ม ทองยิ่ง วัดอัมพวัน สิงห์บุรี (1)
- พระกรุ พระโบราณ (1)
- พระสมเด็จบางขุนพรหม ปี 09 (1)
- พระสมเด็จหลวงตาพัน (1)
- พระอรหันตธาตุ (1)
- ภาพรวมอดีตพระสายวิปัสนากรรมฐาน พระป่า หาชมยากในปัจจุบัน (1)
- รวมประมวลภาพวัตถุมงคล หลวงตามหาบัว วัดป่าบ้านตาด จ.อุดรธานี (1)
- รวมพระเครื่อง วัตถุมงคล หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต (1)
- รวมพระเครื่อง วัตถุมงคล หลวงปู่สิงห์ ขันตยาคโม (1)
- รวมพระเครื่องหลวงพ่อตัด วัดชายนา เพชรบุรี (1)
- รวมพระเครื่องหลวงพ่อทาบ ระยอง (1)
- เรื่องเล่าเหตุมหัศจรรย์เกิดที่วัดอัมพวัน สิงห์บุรี (1)
- ลักษณะและพรรณะของพระบรมสารีริกธาตุ (1)
- เล่นแร่แปรธาตุให้เป็นทองคำ ไสยศาสตร์หรือวิทยาศาสตร์ (1)
- วิธีดูเหรียญแท้ เหรียญปลอม พระเหรียญ เหรียญพระเกจิ ดูอย่างไร (1)
- สมาธิวิธี โดยพระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม (1)
- เหรียญกษาปณ์รัชกาลที่ 3 (1)
- เหรียญกษาปณ์สมัยรัชกาลที่ 4 (1)
กระทู้ล่าสุดที่โพสต์
Followers
ประวัติหลวงพ่อเพ่ง ระยอง
Friday, May 28, 2010พระอธิการเพ่ง สาสโน
อดีตเจ้าอาวาสที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักคือเปรียญแดง ( หรือแตง ) เจ้าอาวาสรูปแรกเป็นชาวอยุธยา มาเปิดสอนภาษา บาลีมูลกระจาย พร้อมทั้งสร้างวัดควบคู่ไปด้วย รูปที่ 3 คือ หลวงปู่สังข์เฒ่า เจ้าพุทธาคม และรูปที่ 8 พระอธิการเพ่ง สาสโน ซึ่งขออนุญาตนำประวัติของท่านมาเล่าโดยสังเขป พร้อมกับประวัติหลวงพ่อสิน เจ้าอาวาสปัจจุบัน ศิษย์หลวงพ่อเพ่ง สาสโน และศิษย์หลวงปู่ทิม อิสริโก วัดละหารไร่
หลวงพ่อเพ่ง สาสโน เกิดในตระกูลแก้วสว่าง ชาวบ้านตาสิทธิ์ ( หมู่ 7 ตำบลหนองละลอกปัจจุบัน ) ท่านเขียนประวัติไว้ว่า ท่านเป็นมหาดเล็กของกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ได้ตามเสด็จไปฝากตัวเป็นศิษย์หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า พร้อมกับกรมหลวงฯ ต่อมาได้ทูลลาเจ้านายของท่านออกบวชเป็นพระภิกษุ ที่วัดบ้านโพ อำเภอพระราชวังบางปะอินทร์ จังหวัดอยุธยา และออกมาเยี่ยมญาติที่จังหวัดระยอง และมาพำนักที่วัดละหารใหญ่ เมื่อเจ้าอาวาสได้ว่างลง พระครูวิจิตรธรรมานุวัติ ( หลวงพ่อวงษ์ ) เจ้าคณะแขวงบ้านค่าย ได้ตั้งใหพระภิกษุเพ่ง สาสโน รั้งเจ้าอาวาส ต่อมาท่านเจ้าคุณพระพิศาล อดีตเจ้าอาวาสวัดไผ่ล้อม เจ้าคณะจังหวัดจันทบุรี ได้มารับหน้าที่เจ้าคณะจังหวัดระยอง จัดการแต่งตั้งให้เป็นพระอธิการเพ่ง สาสโน เป็นเจ้าอาวาสปกครองวัดตั้งแต่ พ.ศ.2478 – 2501 ท่านพัฒนาวัดควบคู่กับการตั้งโรงเรียนประชาบาลสอนนักเรียนในละแวกนั้น เพราะท่านเป็นพระที่มีความรู้แตกฉาน ทั้งภาษาไทย ภาษาขอมโบราณ เป็นพระที่มีความรู้ดี ประสบการณ์ดี ไม่เคยอวดดี แต่ใครอย่ามาลองดี ท่านมีดีให้ดู ดังเช่น ครูวาว บุญปลื้ม ครูประชาบาล วัดไร่ มาถามหลวงพ่อเพ่งว่า หลวงพ่อใครว่าหลวงพ่อมีดี ผมไม่เห็นมีอะไร หลวงพ่อเพ่งไม่ว่าอะไร ท่านเขียนอักษรขอมคำว่า เฑาะ แล้วส่งให้ครูวาว เอาไปยิงต่อหน้าคนหลายๆ คนที่อยู่ในวันนั้น ปรากฏว่า ยิงไม่ออก จากนั้นมามีคนที่มีลูกหลานถูกเกณฑ์ ไปเป็นทหาร ( เดิมเรียกว่าลูกหมู่ ) จะนำแผ่นทองแดง อลูมิเนียม ( ฝาหม้อ ฝาบาตรที่ชำรุด ) มาให้หลวงพ่อเพ่งทำตะกรุดนำติดตัวไปด้วย หลวงพ่อเพ่งมรณภาพ เมื่อ ปี พ.ศ.2502 เมื่อ ทายก ทายิกา ประกอบพิธีประชุมเพลิง( เผา ) สัปเหร่อทำพิธีเผา อย่างไรก็ไหม้ไม่หมด ต้องนิมนต์หลวงปูทิม ทำน้ำมนต์รด และประกอบพิธีให้จึงเผาได้ พุทธาคม ที่หลวงพ่อเพ่งได้ศึกษาไว้ นอกจากของหลวงปู่ศุข วัดมะขามเฒ่าแล้ว ยังศึกษาตำราคู่วัด ซึ่งตำราดังกล่าว ท่านได้ครอบครูและมอบให้ พระครู สุภัททาจารคุณ ( หลวงพ่อสิน ) เจ้าอาวาส วัดละหารใหญ่ รูปปัจจุบัน ศึกษาและเก็บไว้ตนถึงปัจจุบันนี้
“อิทธิฤทธิ์...หลวงพ่อเพ่ง, เมตตามหานิยม...หลวงพ่อทาบ, อาคม...หลวงพ่อทิม”
วลีสามประโยคนี้เป็นคำกล่าวของชาวระยองเมื่อเอ่ยถึงหลวงพ่อเพ่ง หลวงพ่อทาบ และหลวงพ่อทิม ภายหลังจากที่หลวงพ่อวงศ์ วัดบ้านค่าย หลวงพ่ออ่ำ วัดหนองกระบอก และหลวงพ่อกาจ วัดหนองสนมได้มรณภาพแล้ว ซึ่งแสดงให้เห็นเอกลักษณ์อันเด่นชัดของพระเกจิอาจารย์แต่ละรูปว่าโดดเด่นไปคนละทาง หลวงพ่อเพ่งนั้น โดดเด่นทางอิทธิฤทธิ์ หลวงพ่อทาบนั้นโดดเด่นทางเมตตามหานิยม ส่วนหลวงพ่อทิมนั้นโดดเด่นเรื่องคาถาอาคม ทั้งสามท่านมีอายุไล่เลี่ยกัน โดยหลวงพ่อทาบแก่กว่าหลวงพ่อทิม ๒ ปี ส่วนหลวงพ่อทิมและหลวงพ่อเพ่งมีอายุเท่ากันเพราะไล่ทหารปีเดียวกัน อิทธิฤทธิ์หลวงพ่อเพ่ง หลวงพ่อเพ่ง ผู้ทรงอิทธิฤทธิ์รูปนี้อดีตเป็นเจ้าอาวาสวัดละหารใหญ่ ซึ่งเป็นวัดเก่าแก่วัดหนึ่งของจังหวัดระยอง อยู่คนละฟากแม่น้ำบ้านค่ายกับวัดละหารไร่ หลวงพ่อทิมได้เล่าให้ผู้เขียนฟังว่าหลวงพ่อเพ่งสมัยเป็นทหารเรือ ท่านเคยเป็นบ๋อย (มาจาก Boy ใช้เป็นศัพท์สแลงแปลว่า คนรับใช้) ของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ พระบิดาของทหารเรือไทย พระอาจารย์สิน เจ้าอาวาสวัดละหารใหญ่ ซึ่งเป็นศิษย์เอกของหลวงพ่อเพ่งและหลวงพ่อทิมได้เล่าว่า หลวงพ่อนั้นท่านเป็นคนหัวดี สมองไว เก่งทางเลขผานาที การคำนวณ และเก่งทางหนังสือหนังหา เมื่อถูกเกณฑ์เป็นทหารเรือจึงได้รับคัดเลือกให้ไปรับใช้ใกล้ชิดเสด็จเตี่ยหรือกรมหลวงชุมพรฯ ซึ่งเป็นผู้บัญชาการทหารเรือในยุดนั้น หลวงพ่อเพ่งเป็นผู้ที่ใฝ่ใจทางวิทยาอาคม เมื่อมีโอกาสจึงติดตามเสด็จในกรมไปเล่าเรียนวิทยาอาคมต่างๆ ด้วย เมื่อครบกำหนดการเป็นทหารซึ่งในสมัยนั้นใช้เวลา ๓ ~ ๔ ปี ท่านก็กลับมาบ้านเกิดของท่านโดยบวชเป็นพระภิกษุมาแล้ว และมาจำพรรษาอยู่วัดละหารใหญ่ เจ้าอาวาสองค์ก่อนจึงขอให้หลวงพ่อเพ่งสอนหนังสือแก่กุลบุตรกุลธิดาแถววัดละหารใหญ่และวัดละหารไร่ นั่นเอง หลวงพ่อสินยังเล่าต่ออีกว่าหลังจากนั้นก็มีพวกเจ้าขุนมูลนายจากกรุงเทพฯ มาเยี่ยมเยียนหลวงพ่อเพ่งเป็นประจำ และมาอยู่ค้างที่วัดละหารใหญ่ครั้งละหลายๆ วัน ส่วนสาเหตุที่ทำให้คนทั่วไปรู้ว่าหลวงพ่อเพ่งมีอิทธิฤทธิ์ด้านคงกระพันเป็นเอกนั้น ก็เพราะวันหนึ่งขณะที่พวกชาวบ้านกำลังเอามีดผ่าไม้รวกอยู่ หลวงพ่อเพ่งมาเห็นเข้าบอกว่า “ผ่าด้วยมีดมันช้า” ว่าแล้วท่านก็เอามือผ่าลำไม้รวกซึ่งผิวของมันคมกริบปานคมมีดโกน แต่ท่านใช้มือผ่าไม้รวกให้ชาวบ้านดูอย่างหน้าตาเฉย ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ผู้คนก็ไปขอของดีจากท่านมิได้ขาด บางครั้งขณะที่ท่านกำลังสอนหนังสือเด็กก็มีคนไปรอเพื่อขอให้ลงตะกรุดให้ ผู้เฒ่าผู้แก่แถวๆ วัดละหารไร่เล่าว่า เมื่อชาวบ้านหยิบเอาวัสดุที่เตรียมมาซึ่งมีทั้งแผ่นทองเหลือง แผ่นหม้ออลูมิเนียมตัดเป็นแผ่นๆ มาให้ท่าน หลวงพ่อเพ่งท่านจะหยิบแผ่นโลหะนั้นมาจารอักขระลงไปในแผ่นเพียงตัวเดียว คือ ตัวเฑาะว์มหาพรหม หรือที่เรียกอีกชื่อว่า “ตัวเฑาะว์ใหญ่” จารเสร็จแล้วท่านก็ม้วนเป็นตะกรุด ยกขึ้นจบเหนือศีรษะ แล้วส่งให้ผู้ขอเลย โดยไม่เห็นท่านปลุกเสกอะไร แรกๆ ชาวบ้านไม่แน่ใจก็ลองเอาตะกรุดนั้นวางบนตอไม้ แล้วใช้ปืนยิงลองดู ปรากฏว่า นัดแรกดัง แชะ ด้านทุกราย! ส่วนนัดที่สองด้านบ้าง ยิงออกแต่ไม่ถูกบ้าง บางครั้งมีคนมาขอตะกรุดแต่ไม่มีโลหะมาให้ท่านลง ท่านก็บอกว่ามึงเอาซองห่อยากาแรตนั้นแหละมาลง ปรากฏว่ากระดาษอลูมิเนียมชนิดบางที่ใช้ห่อบุหรี่ตราฆ้องสมัยนั้นก็กลายเป็นตะกรุดไปอย่างวิเศษก็มี หลวงพ่อเพ่งท่านไม่ได้สร้างพระเครื่องอะไรทั้งสิ้นนอกจากตะกรุดอย่างเดียว ปัจจุบันชาวบ้านแถบนั้นจึงหวงตะกรุดหลวงพ่อเพ่งมากกว่าตะกรุดของหลวงพ่อทิมเสียอีก ! อีกเรื่องหนึ่งที่แสดงถึงอิทธิฤทธิ์หลวงพ่อเพ่งให้เป็นที่ประจักษ์ คือ เมื่อวัดละหารใหญ่มีงาน ชาวบ้านก็ล้างจานชามกันที่สระน้ำหน้าวัดทีละใบๆ หลวงเพ่งท่านมาเห็นเข้าท่านจึงบอกว่า “ล้างแบบนี้ช้าไป เอาใส่แข่งเขย่าเลย” ชาวบ้านก็ทำตามท่าน ถ้วยชามที่เป็นแก้วเป็นกระเบื้องก็ไม่แตก! เป็นที่น่าอัศจรรย์ใจ อาคมหลวงพ่อทิม ในยุคที่หลวงพ่อเพ่งดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดละหารใหญ่อยู่นั้น หลวงพ่อทิมยังเป็นเพียงพระหมอยาเท่านั้น ใครที่เจ็บไข้ได้ป่วยก็พากันไปหาหลวงพ่อทิม แต่ถ้าจะเอาเรื่อง คงกระพัน ยิงไม่ออกฟันไม่เข้า ก็ต้องไปหาหลวงพ่อเพ่ง แต่ทั้งหลวงพ่อเพ่งและหลวงพ่อทาบนั้น ท่านรู้อยู่เต็มอกว่าไม่ว่าด้านคงกระพันหรือเมตตามหานิยมนั้น หลวงพ่อทิมก็ไม่เป็นสองรองทั้งสองรูป แต่หลวงพ่อทิมท่านเป็นพระสำรวมนอบน้อมถ่อมตนจึงเก็บงำไม่ยอมสำแดงออก ก่อนที่หลวงพ่อเพ่งจะมรณภาพ ท่านสั่งลูกศิษย์ใกล้ชิดไว้ว่า เมื่อท่านตายแล้วและศพท่านเผาไม่ไหม้ก็ให้คนไปตามท่านทิมมาช่วยเผา และก็เป็นไปตามคำที่หลวงพ่อเพ่งสั่งไว้
Posted by Bermudathai at 10:02 PM
Labels: ประวัติหลวงพ่อเพ่ง ระยอง
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
0 comments:
Post a Comment