ประวัติหลวงปู่สาม อกิญจโน
หลวงปู่สาม อกิญจโน
วัดป่าไตรวิเวก อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์
ท่านเป็นพระอริยสงฆ์ผู้เจริญด้วยธุดงควัตรสัมมาปฏิบัติ กตัญญกตเวที ต่อพระบูรพาจารย์เป็นที่ตั้ง เมื่อท่านพระอาจารย์มั่น มรณะภาพ ท่านนอนเฝ้ารักษาศพของท่านอาจารย์มั่นตลอด ๓ เดือนจนถึงพิธีประชุมเพลิง
เบื้องต้นก่อนจะเข้ามาวงศ์กรรมฐาน ท่านได้รับคำแนะนำจากหลวงปู่ดูลย์ อตุโล ให้เข้าหาท่่านพระอาจารย์มั่น ท่านเป็นผู้ไม่ติดสถานที่ ท่่องเที่ยวภาวนาไปตามป่าเขา ไปเลื่อยๆ ทั่วทุกภาคของประเทศไทย ท่านจำพรรษาได้มากแห่ง แทบจะไม่ซ้ำกัน เป็นหนึ่งในกองทัพธรรมยุคแรกที่ธุดงค์เผยแพร่ธรรมจนได้รับคำชมจาก พระอาจารย์มั่นว่า "เป็นผู้เจริญด้วยธุดงควัตร จำพรรษาได้มากแห่งและเป็นผู้เคร่งครัดในธุดงควัตร" ชาติกำเนิดและชีวิตปฐมวัย
-
ชีวิตสมณะ การแสวงหาธรรม และปฏิปทา
ในปีนั้น พ.ศ.๒๔๖๘ ได้มีภิกษุหนุ่มรูปหนึ่ง ผิวพรรณหมดจด ผ่องใสกิริยาท่าทางสำรวม สอบถามได้ความว่ามีความมุ่งมั่นในการศึกษาทางพระศาสนา และเคยเดินทางไปแสวงหาที่เรียนด้านปริยัติที่กรุงเทพฯ แต่หาที่พำนักไม่ได้ จึงต้องกลับมาจำพรรษาที่สุรินทร์คืน พระภิกษุหนุ่มรูปนั้น ชื่อ พระสาม อกิญฺจโน ได้มากราบถวายตัวเป็นศิษย์เรียนพระกรรมฐานกับหลวงปู่ดูลย์ ที่บ้านหนองเสม็ด
พระสาม อกิญฺจโน ชอบใจต่อแนวทางปฏิบัติภาวนาและกิจธุดงค์เพราะถูกกับจริตของท่าน ต่อมาได้ติดตามหลวงปู่ดูลย์ออกธุดงค์ไปในสถานที่ต่างๆ ละแวกใกล้เคียงจังหวัดสุรินทร์ ปี พ.ศ. ๒๔๖๙ หลวงปู่ดูลย์ เห็นว่าพระสาม อกิญฺจโน ได้รับผลจากการปฏิบัติพอสมควร และมีศรัทธามั่นคงดีแล้ว จึงแนะนำให้เดินทางไปกราบและศึกษาธรรมกับ พระอาจารย์ใหญ่มั่น ภูริทตฺโต ซึ่งขณะนั้นพำนักอยู่ที่ เสนาสนะป่าบ้านสบบง อ.ท่าอุเทน จ.นครพนม
พระสาม กับพระบุญธรรม รวม ๒ องค์ ใช้เวลาเดินเท้า ๑๕ วัน จึงไปถึงจังหวัดนครพนม ได้อยู่พำนักปฏิบัติธรรมกับ พระอาจารย์ใหญ่ ๓ เดือน แล้วส่งไปให้พำนักกับ หลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม สหายสนิทของหลวงปู่ดูลย์ ซึ่งขณะนั้นอยู่ที่ กิ่ง อ.อากาศอำนวย จ.สกลนคร
ต่อมา พระบุญธรรม ได้มรณภาพลง เหลือแต่ พระสาม ได้ติดตาม หลวงปู่สิงห์ ไปหลายแห่ง และเป็นกำลังสำคัญในการเผยแพร่ธรรมะใน กองทัพธรรม
พระสาม อกิญฺจโน ได้ออกธุดงค์ปฏิบัติธรรมไปทั่วทุกภาคของประเทศและเคยมาพักที่วัดสันติธรรมอีกด้วย ถือว่าเป็นพระที่เจริญด้วยธุดงควัตร เที่ยวธุดงค์เป็นเวลานาน พำนักจำพรรษามากแห่ง เพิ่งมาพำนักประจำที่ วัดป่าไตรวิเวก อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ ในปี พ.ศ. ๒๕๑๑ เมื่อท่านอายุ ๖๘ ปี
หลวงปู่สาม อกิญฺจโน มรณภาพเมื่อวันที่ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๔ สิริรวมอายุได้ ๙๑ ปีเศษ ท่านมรณภาพหลังหลวงปู่ดูลย์ ๘ ปี (หลวงปู่ดูลย์มรณภาพเมื่อ ๓๐ ตุลาคม ๒๕๒๖)
หลวงปู่สาม อกิญฺจโน
วัดป่าไตรวิเวก อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์
“ปฎิปทา ของหลวงปู่สามนั้น สาธุชนที่เคยเดินทางไปนมัสการ คงจะตระหนักดีว่า มีความคล้ายคลึงกับหลวงปู่ดูลย์ อตุโล มากทีเดียว ท่านมากไปด้วยขันติโสรัจจะ อดทน สงบเงียบ เยือกเย็น ชีวิตเพศแห่งสมณะหลวงปู่ไม่เคยว่างเว้นในการเดินธุดง ค์ไปตามป่าเขาและในจังหวัดต่างๆ จิตของท่านเต็มไปด้วยเมตตา ไม่เคยขัดศรัทธาคณะญาติโยมใครๆ เลย”
นามเดิมของทานว่า สามา นาสกุล เกษแก้วสี เกิดที่บ้านนาสาม ต.นาบัว อ.เมือง จ.สุรินทร์ บิดาชื่อนายปวม มารดาชื่อนางกึง
ท่านเกิดเมื่อวันอาทิตย์ เดือน ๑๐ ปีชวด ตรงกับเดือนกันยายน พ.ศ.๒๔๕๓ ท่านเป็นบุตรคนโต(หัวปี) ชีวิตในวัยเด็กนั้น สุดแสนยากลำบาก เพราะท่านต้องทำงานทุกอย่าง ลักษณะคล้ายผู้หญิงด้วยว่า น้องๆของท่านเป็นผู้ชายเสียหมด ไม่มีผู้หญิงเลย อายุได้ ๑๙ ปี ท่านได้บรรพชาเป็นสามเณร ที่วัดนาสาม อันเป็นวัดใกล้บ้านเกิดของท่าน
เมื่อบวชเณรได้ ๒ ปี อายุครบ ๒๑ ปี ท่านได้เข้าอุปสมบทต่อเป็นพระภิกษุสาม โดยมีท่านพระครูวิมลศีลพรต เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงพ่อเอี่ยม และพระอาจารย์สามเป็นพระคู่สวด ต่อมาใน พ.ศ.๒๔๖๗ หลวงปู่สาม อกิญฺจโน ได้รับข่าวและกิตติศัพท์ของหลวงปู่ดุลย์ อตุโล ว่าได้กลับมาจากเดินธุดงค์และ...ได้มาพำนักอยู่ที่ป่ าหนองเสม็ด ต.เฉนียง จ.สุรินทร์ จึงเดินทางไปนมัสการและได้ถวายตัวเป็นศิษย์เพื่ออบรม พระกรรมฐาน
หนึ่งพรรษาผ่านไป หลวงปู่ดูลย์ อตุโล เห็นความพากเพียรที่จะเอาดีทางด้านประพฤติปฏิบัติของ หลวงปู่สาม ท่านจึงได้แนะนำให้ท่านไปศึกษาธรรมกับหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต และได้บอกว่า หลวงปู่มั่น ขณะนี้อยู่ที่จังหวัดสกลนครความที่สนใจในธรรมปฏิบัติ ท่านจึงกราบลาออกเดินธุดงค์รอนแรมไปท่ามกลางป่าเขาเป ็นเวลาหลายเดือน กว่าจะได้เข้านมัสการหลวงปู่มั่น แล้วท่านก็ได้พักปฏิบัติธรรมอยู่กับหลวงปู่มั่น ๓ เดือน ภายหลังจากสามเดือนผ่านไป หลวงปู่มั่นได้แนะนำให้หลวงปู่สาม ไปพบกับท่านพระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโมเพื่อเป็นพระผู้ ฝึกฝนอบรมต่อไป
ในปีที่มาอยู่ปฏิบัติธรรมกับท่านพระอาจารย์สิงห์นั้น ท่านได้ทุ่มเทชีวิตจิตใจอยู่กับการปฏิบัติจนต้องล้มป ่วยอย่างหนักเกือบเสียชีวิต แต่ด้วยจิตใจเข้มแข็งแรงกล้าในธรรมะของพระศาสดาเจ้า พร้อมกับได้เห็นความจริงที่เกิดขึ้นภายในใจ ท่านไม่ยอมละลดต่อสู้กับโรคภัยนั้น ชนิดผอมหนังหุ้มกระดูก ด้องอาศัยกำลังใจ และไม้เท้ายันตัวเดิน ท่านเคยเล่าไว้ตอนหนึ่งว่า เรานักต่อสู้ลูกพระพุทธเจ้า ถ้ามันยังไม่ตายยังหายใจอยู่ แม้ขาเดินไม่ได้เอาไม้เท่าเดินก็ต้องยอมตายกับความดี งามนะพวกเธอ หลวงปู่สาม แต่เดิมท่านบวชพระเป็นฝ่ายมหานิกาย เพราะในจังหวัดสุรินทร์สมัยนั้น ยังไม่มีพระฝ่ายธรรมยุตเลย
ดังนั้นพระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม จึงให้แปรญัตติใหม่ที่อำเภอยโสธร ในครั้งนั้น หลวงปู่สามและหลวงปู่สกุย ได้ญัตติพร้อมกัน โดยมีท่านพระครูจิตวิโส เป็นพระอุปัชฌาย์ ท่านพระอาจารย์สิงห์และท่านพระอาจารย์มหาปิ่น ปัญญาพโล เป็นพระคู่สวด ฉายาว่า “อกฺจโน”
หลวงปู่สาม เป็นพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ท่านไม่ค่อยยอมอยู่กับที่ จะอยู่ก็เพียงเข้าพรรษา หรือขออุบายธรรมจากครูบาอาจารย์ชั่วครูชั่วคราวเท่าน ั้น ท่านก็จะเดินธุดงค์ต่อไปตั้งแต่เหนือจดใต้จากภาคกลาง จดภาคตะวันออก ภาคอีสานทั้งหมด ตั้งแต่สมัยเป็นพระภิกษุหนุ่มจนเข้าสู่วัยชรา ท่านได้ต่อสู้ชีวิตทุ่มเทกับการปฏิบัติมาอย่างโขกโชน ท่านเพ่งเพียรภาวนาอยู่เป็นนิจ ครั้นมาปรารภกับตนเองว่า “บัดนี้กำลังกายของเราก็อ่อนแอลงไปมากแล้ว น่าจะกลับมาอยู่ถิ่นเดิม คือในจังหวัดสุรินทร์
นอกจากนี้แล้วก็ยังจะได้อยู่ใกล้ครูบาอาจารย์ คือหลวงปู่ดูลย์ อีกทั้งมารดาของท่านก็ได้ชราภาพมากแล้ว เป็นโอกาสอันดีที่จะได้นำธรรมะที่ท่านได้รับมาทั้งหม ดเผยแพร่แก่บรรดาสาธุชนต่อไปอีกด้วย” ท่านหลวงปู่สาม อกิญฺโน จึงได้เดินทางกลับจังหวัดสุรินทร์ตั้งแต่บัดนั้น หลวงปู่สาม อกิญฺโน ท่านเป็นพระนักธุดงค์กรรมฐานที่มีความมานะอดทนเป็นพิ เศษ ท่านถือคติที่ว่า “ท่านเป็นศิษย์ของพระตถาคต แม้ยังมีลมหายใจอยู่ ก็ต้องสู้กันให้ถึง ที่สุด”
หลวงปู่สาม ท่านเคยเล่าเหตุการณ์ของพระธุดงค์สมัยก่อนนั้นว่า… “สมัยโน้นพระธุดงค์ก็ลำบาก ชาวบ้านก็ลำบาก เพราะไม่เจริญอย่างปัจจุบันนี้นะ แต่มีวามเพียรแรงกล้า มุ่งอรรถมุ่งธรรมกันจริงๆ มาสมัยนี้หละหลวมไม่เอาดีเลย สอนแล้วก็ลืม…ลืมปฏิบัติกัน! ” หลวงปู่สาม อกิญจโน ท่านเป็นกำลังใน “กองทัพธรรม” ที่สำคัญองค์หนึ่ง กล่าวคือ… ท่านเดินทางร่วมไปปูพื้นฐานทางธรรมกับหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี และคณาจารย์อีกหลายสิบองค์ทางภาคใต้ การเผยแพร่ในครั้งนั้น แม้จะมีอุปสรรคอย่างมากมาย แต่ด้วยกำลังใจอันแน่วแน่มั่นคง ของพระธุดงค์กรรมฐาน จึงสามารถฟันฝ่าอุปสรรคนั้น ๆ ได้สำเร็จผลอย่างงดงาม เป็นที่ยอมรับในหมู่ชนชาวภาคใต้เป็นอันมาก
คติธรรมที่หลวงปู่เทสก์ปรารภแก่คณะผู้ออกเผยแพร่ธรรม ยึดมั่นในจิตใจ คือ “เปียกได้…ไหม้เสีย” หลวงปู่สาม อกิญฺจโน ได้นำมาสอนอบรมบรรดาศิษย์ในกาลต่อมา เป็นกำลังในแก่ผู้ปฏิบัติธรรม ควรน้อมเข้ามาพิจารณาคำนี้ให้จงหนัก หลวงปู่สาม ท่านเป็นพระภิกษุสงฆ์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบนำธรรมะอ อกเผยแพร่สู่ประชาชนด้วยเมตตาธรรม แต่ถึงจะเป็นผู้บริสุทธิ์แล้ว ก็ยังถูกลอบทำร้ายจากมนุษย์ใจบาป ผู้เขียนเคยเรียนถามในเรื่องนี้ท่านตอบว่า “ลูกเอ๋ย…มันเป็นกรรมนะต้องใช้กรรมเวร ยุติธรรมดีแล้ว แม้พระพุทธเจ้าของเราลูกเห็นไหม? พระองค์ยังต้องประสบในเรื่องเช่นนี้นะ
ฉะนั้น จงปล่อยไปตามกรรมที่ทำไว้แต่หนหลัง ปัจจุบันทำจิตใจของตนเองให้บริสุทธิ์ก็พอแล้วทำอย่าง ไรหนอ จึงจะพ้นทุกข์นี้ไปได้เท่านั้น…” ความเป็นผู้ปฏิบัติดีของท่านจึงมีคณะญาติโยม ได้เข้าถวายที่ดินให้ท่านก่อสร้างวัดที่สมบูรณ์ขึ้นช ื่อวัดป่าไตรวิเวก และท่านหลวงปู่สาม ได้อยู่จำพรรษาตั้งแต่บัดนั้นจนถึงปัจจุบัน ท่านมรณภาพแล้ว
วัดศรีสะอาด อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร เก็บรักษาไว้ในภายในกุฏิของท่าน
0 comments:
Post a Comment