ประวัติหลวงพ่อจรัญ สิงห์บุรี

Saturday, May 29, 2010

พระครูปลัดจรัญ ฐิตธมฺโม ได้มารักษาการตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดนี้เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๐ ได้ดำเนินการพัฒนาปรับปรุงฟื้นฟูกิจการทั้งภายในและภายนอกจนเจริญรุ่งเรืองเรื่อยมาตามลำดับ ในเวลาต่อมาได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตร “พระครูภาวนาวิสุทธิ์” ในคราววันพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๑๑ ชีวประวัติและผลงานของท่านเป็นที่น่าเลื่อมใสศรัทธาแด่สาธุชนทั่วไป

ช า ติ ภู มิ



พระครูภาวนาวิสุทธิ์ เกิดในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๗ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์) เมื่อ ๑๕ สิงหาคม ๒๔๗๑ เวลา ๐๗.๑๐ (๔ ฯ ๘ ปีมะโรง) ณ ตำบลม่วงหมู่ อ. เมือง จ. สิงห์บุรี เป็นบุตรคนที่ ๕ ในจำนวน ๑๐ คน ซึ่งเกิดจากโยมมารดาเจิม และโยมบิดาแพ จรรยารักษ์



พระคุณเจ้าอุปสมบทเมื่อ ๑๕ กรกฎาคม ๒๔๙๑ เวลา ๑๔.๐๐ นาฬิกา ณ วัดพรหมบุรี จ. สิงห์บุรี โดยมีท่านเจ้าคุณพรหมนคราจารย์ วัดแจ้งพรหมนคร เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูถาวรวิริยคุณ วัดพุทธาราม เป็นกรรมวาจาจารย์


















ก า ร ศึ ก ษ า



พระคุณเจ้าได้ศึกษาเล่าเรียนทั้งทางโลกและทางธรรม มีความชำนาญเชี่ยวชาญเป็นพิเศษ พอจะสรุปแยกสาขาศึกษาได้ดังนี้





สามัญศึกษา

ได้ศึกษาจากสถาบันต่าง ๆ มี

- โรงเรียนประจำจังหวัดสิงห์บุรี

- โรงเรียนประชาบาลวัดศรัทธาภิรมณ์

- โรงเรียนสิงหวิทยายน

- โรงเรียนศิริสุทโธ

- โรงเรียนสุวิทดารามาศ สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมปีที่ ๔ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๗



ศึกษาดนตรีไทย

ได้ศึกษาดนตรีไทยมีปี่พาทย์มอญ แตรวงเครื่องสาย การประพันธ์บทขับร้อง จากโยมบิดากับคุณหลวงธารา ต่อมาคุณปู่ พ.ต.หลวงธารา ได้นำพระคุณเจ้าเข้าฝากตัวกับจอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี เพื่อเข้าศึกษาโรงเรียนนายตำรวจ พระคุณเจ้าศึกษาอยู่ประมาณ ๑ เดือน จึงขอลาออกเนื่องจากไม่ถูกอัธยาศัยในวิชานี้



ศึกษาวิชามายาศาสตร์

พระคุณเจ้าเริ่มมาสนใจวิชามายาศาสตร์และมายาสาไถย์ของคนเรา เมื่อรู้ดีก็เอือมระอา มิได้นำวิชานี้มาใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม และขณะนั้นมีอายุย่างเข้า ๒๐ ปีบริบูรณ์ จึงได้สละจากเพศฆราวาสเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์ ตั้งแต่นั้นมาจนกระทั่งบัดนี้



ศึกษาพระธรรมวินัย วิปัสสนากรรมฐาน

- พ.ศ. ๒๔๙๑ ศึกษาพระธรรมวินัย ณ สำนักพรหมบุรี

- พ.ศ. ๒๔๙๒ สอบนักธรรมโทสนามหลวงได้ที่วัดแจ้งพรหมนคร

- พ.ศ. ๒๔๙๓ ศึกษาวิชากรรมฐานกับพระครูนิวาสธรรมขันธ์ (หลวงพ่อเดิม) อ.หนองโพธิ์ จ.นครสวรรค์

- พ.ศ. ๒๔๙๔ ศึกษาวิชากรรมฐานกับหลวงพ่อลี และท่านเจ้าคุณอริยคุณาธร จ.ขอนแก่น

- พ.ศ. ๒๔๙๕ ศึกษาการทำเครื่องรางของขลัง, น้ำมันมนต์กับหลวงพ่อจง วัดหน้าต่าง จ.อยุธยา และพระครูวินิจสุตคุณ, หลวงพ่อสนั่น วัดเสาธงทอง จ.อ่างทอง หลวงพ่อจาด วัดบ้านสร้าง จ.ปราจีนบุรี

- พ.ศ. ๒๔๙๖ ศึกษาวิชาสมถวิปัสสนา กับพระภาวนาโอกาสลเถร (สด จันทสโร) หรือหลวงพ่อสด วัดปากน้ำ อ.ภาษีเจริญ จ.ธนบุรี

- พ.ศ. ๒๔๙๗ ศึกษาและปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานกับเจ้าคุณอาจารย์พระราชสิทธิมุนี วัดมหาธาตุ จ.พระนคร

- พ.ศ. ๒๔๙๘ ศึกษาพระอภิธรรมกับอาจารย์เตชิน (ชาวพม่า) วัดระฆัง จ.ธนบุรี

- ศึกษาการพยากรณ์จากสมเด็จพระสังฆราชวัดสระเกศฯ จ.พระนคร

- ศึกษาแลกเปลี่ยนความรู้วิทยาศาสตร์ทางจิตกับอาจารย์ พ.อ.ชม สุคันธรัต

- เดินธุดงค์รอนแรมหาที่สงบ เพื่อจำศีลภาวนาตามป่าเขาลำเนาไพรทางภาคเหนือ







ตำ แ ห น่ ง แ ล ะ ส ม ณ ศั ก ดิ์



๑. รักษาการเจ้าอาวาสวัดอัมพวัน ต.บ้านแป้ง อ.พรหมบุรี จ.สิงห์บุรี เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๐

๒.ได้รับสมณศักดิ์ที่พระครูปลัดจรัญ ฐิตธมฺโม ฐานานุกรมของท่านเจ้าคุณสุนทรธรรมประพุทธเจ้าคณะจังหวัดร้อยเอ็ด (แต่มาประจำอยู่สำนักวัดอัมพวัน) เมื่อ ๒๕ ก.ค. ๒๕๐๑

๓. ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตร “พระครูภาวนาวิสุทธิ์”เจ้าอาวาสวัดอัมพวันเมื่อ ๕ ธ.ค. ๒๕๑๑

๔. ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะอำเภอพรหมบุรีเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๘














ตำ แ ห น่ ง แ ล ะ ห น้ า ที่ ก า ร ป ก ค ร อ ง



- พุทธศักราช ๒๕๐๐ รักษาการเจ้าอาวาสวัดอัมพวัน อำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี

- พุทธศักราช ๒๕๐๑ ได้รับสมณศักดิ์เป็น ที่พระครูปลัดจรัญ ฐิตธมฺโม ในฐานานุกรมของท่านเจ้าคุณ สุนทรธรรมประพุทธ เจ้าคณะจังหวัดร้อยเอ็ด เมื่อวันที่ ๒๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๐๑

- พุทธศักราช ๒๕๑๑ ได้รับสมณศักดิ์เป็น พระครูสัญญาบัตรชั้นตรี ที่พระครูภาวนาวิสุทธิ์ เจ้าอาวาสวัดอัมพวัน อำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๑

- พุทธศักราช ๒๕๑๖ เลื่อนเป็นพระครู เทียบผู้ช่วยพระอารามหลวงชั้นเอก

ฝ่ายวิปัสสนากรรมฐาน

- พุทธศักราช ๒๕๑๗ รักษาการตำแหน่งเจ้าคณะอำเภอพรหมบุรี

- พุทธศักราช ๒๕๑๘ ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะอำเภอพรหมบุรี

- พุทธศักราช ๒๕๑๙ ได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์

- พุทธศักราช ๒๕๒๕ ได้เลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระครูเจ้าคณะอำเภอชั้นเอก

- พุทธศักราช ๒๕๓๑ ได้รับการเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะที่ พระภาวนาวิสุทธิคุณ เมื่อวันจันทร์ที่ ๕ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๓๑

- พุทธศักราช ๒๕๓๕ ได้รับการเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะที่ พระราชสุทธิญาณมงคล เมื่อวันพุธที่ ๑๒ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๓๕

- พุทธศักราช ๒๕๔๑ ได้รับแต่งตั้งเป็น รองเจ้าคณะจังหวัดสิงห์บุรี เมื่อวันอังคารที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๔๑

- พุทธศักราช ๒๕๔๒ ได้รับแต่งตั้งเป็น เจ้าคณะจังหวัดสิงห์บุรี เมื่อวันจันทร์ที่ ๑๙ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๔๒
ผ ล ง า น



นับตั้งแต่พระคุณเจ้าได้มารักษาการในตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดอัมพวัน เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๐ จนกระทั่งได้รับพระราชทานสมณศักดิ์และมีสิทธิเข้าครองตำแหน่งเจ้าอาวาสโดยสมบูรณ์เมื่อ ๕ ธ.ค. ๒๕๑๑ เป็นระยะเวลายาวนานถึง ๑๑ ปี แต่ท่านพระครูมิได้นิ่งนอนใจ ได้พยายามทุกวิถีทางเพื่อบริหารงานวัดนี้และช่วยเหลือวัดอื่น ๆ ให้เจริญก้าวหน้า มีสิ่งอำนวยความสะดวกให้เหมาะสมตามกาลสมัย ท่านพระครูเข้าถึงจิตใจคนเป็นนักแสดง (เทศน์) ซาบซึ้งตรึงใจแก่ผู้ได้ฟังธรรม เป็นนักเสี่ยงในการก่อสร้างปฏิสังขรณ์ในเมื่อไม่มีทุนอยู่ในกำมือเป็นนักเสียสละทรัพย์สินที่มีอยู่อุทิศเพื่อการกุศล และแจกเป็นทานให้ลูกศิษย์วัดนอกจากนั้นท่านพระครูเป็นนักแก้ปัญหาเหตการณ์ที่เกิดขึ้นโดยนิมนต์ภิกษุชาวต่างประเทศมาแสดงธรรมที่วัดแล้วนำจตุปัจจัยที่ได้ชดใช้หนี้โรงไม้ ร้านก่อสร้างต่าง ๆ บางครั้งแก้ปัญหาไม่ได้ต้องไปยืมเงินจากโยมมารดาหรือไม่ก็ญาติพี่น้อง เป็นต้น ด้วยเหตุที่ท่านพระครูเป็นพระนักพัฒนาพระนักเทศน์และวิปัสสนาจารย์พร้อมกันเสร็จดังนี้ ท่านจึงมีผลงานในทุก ๆ ปีมากมายจนเป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปอาทิ



- พ.ศ. ๒๕๒๖ ได้รับโล่เกียรติคุณนักสังคมสงเคราะห์ดีเด่นในสาขาสังคมสงเคราะห์อาสาสมัครฝ่ายกิจการพระศาสนา

- พ.ศ. ๒๕๒๘ ได้รับพระราชทานรางวัลจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ณ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์ กรุงเทพฯ วันอังคารที่ ๒๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๒๘ ในฐานะผู้ได้ทำคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา ด้านส่งเสริมชักชวนให้มาปฏิบัติธรรมอย่างจริงจัง

- พ.ศ. ๒๕๒๙ ได้รับมอบเข็มเกียรติคุณนักพัฒนาดีเด่นแผ่นดินธรรมแผ่นดินทองจาก ฯพณฯ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี ณ ทำเนียบรัฐบาล เมื่อวันที่ ๖ พฤษภาคม ๒๕๒๙


จึงนับได้ว่า ท่านพระครูภาวนาวิสุทธิ์ ได้ทุ่มเทชีวิตในการพัฒนาสังคมให้เจริญรุ่งเรืองและเป็นที่พึ่งอันสำคัญแก่พุทธศาสนิกชนให้เขตท้องถิ่นทั้งใกล้และไกลมาเป็นเวลานาน

พระเครื่องหลวงพ่อจรัญที่ได้รับความนิยมสูงสุดของหลวงพ่อเเละมีราคาเเพงคือ

พระเครื่องหลวงพ่อจรัญ วัดอัมพวัน พระพุทธนฤมิตโชค ปางตรัสรู้และปางประทานพร(กวางใหญ่ กวางเล็ก)

พระเครื่องหลวงพ่อจรัญ วัดอัมพวัน พระหลวงพ่อจรัญ วัดอัมพวัน วัตถุมงคล หลวงพ่อจรัญ วัดอัมพวัน พระหลวงพ่อจรัล วัดอัมพวัน
ท่านพระครูภาวนาวิสุทธิ์ แห่งสำนักวิปัสสนา วัดอัมพวัน ต.บ้านแป้ง อ.พรหมบุรี จ.สิงห์บุรี ได้สร้างพระเครื่องให้ชื่อว่า "พระพุทธนฤมิตโชค" เป็นพระนั่งสมาธิอยู่ในพื้นฐานรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าแบบหนึ่ง อีกแบบหนึ่งเป็นพระปางประทานพร (แบบอินเดีย) ยกมือขวาประทานพร ทั้ง ๒ แบบองค์พระนั่งภายใต้ต้นอัมพฤกษ์ (ต้นมะม่วง) หมายถึงนามวัดอัมพวันอันเป็นสถานที่อุบัติพระนี้ภายใต้ฐานที่ประทับนั่ง มีรูปพระธรรมจักรกับรูปกวางหมอบ หมายถึงการประกาศธรรมของพระพุทธเจ้า กำลังจะเริ่มหมุนต่อไป ซึ่งจะมีผลแผ่ไพศาลฉายแสง แสดงความร่มเย็นเป็นสุขไปยังเวไนยสรรพสัตว์ทุกถ้วนหน้า อย่างไม่มีประมาณ เพื่อความรู้แจ้งเห็นจริงในพระเครื่องที่สร้างขึ้นนี้ตามควร จึงขอนำเรื่องความเป็นมาสำหรับท่านที่เคารพนับถือได้ศึกษาเพิ่มพูนศรัทธาในองค์ผู้สร้างประวัติความเป็นมา ย่อมเป็นที่ทราบกันทั่วไปแล้วว่า พระเครื่องรางของขลังต่าง ๆ นั้น เป็นที่นิยมนับถือของคนไทยชาวพุทธมาแต่โบราณ สำหรับมีไว้ประจำตัวเพื่อเป็นที่พึ่งทางใจ ทำให้ใจอบอุ่นเหมือนมีเพื่อนคอยคุ้มครอง ทั้งเพื่อเป็นสิริมงคลขจัดปัดเป่าสิ่งที่ตนไม่พึงปรารถนาให้ห่างไกล เป็นสัญลักษณ์เครื่องหมายให้เห็นว่าผู้นับถือเป็นผู้เทิดทูนพระพุทธองค์ซึ่งเป็นศาสดาเอกในโลก ผลแห่งการอภิวาทนั้น ย่อมอำนวยให้สำเร็จในสิ่งที่ตนปรารถนา นอกจากนั้นพระเครื่องรางยังช่วยเผยแพร่ผดุงส่งเสริมพระบวรพุทธศาสนา ให้เจริญรุ่งฟุ้งขจรสืบต่อไปในอนาคตอย่างไม่มีของเขตอาศัย มูลเหตุนี้เป็นที่ตั้งบวกกับผลแห่งการรบเร้ากระตุ้นเตือนของบรรดาคณะศิษยานุศิษย์ทั้งหลาย เป็นพลังดลใจให้ท่านพระครูฯ ได้เกิดเมตตากรุณาธรรมเสียสละเวลารวบรวมแร่และผงวิเศษจากแหล่งศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ ด้วยความวิริยะอุตสาหะอย่างยอดเยี่ยม ยากที่ปุถุชนคนธรรมดาจะกระทำได้ นำมาคุลีการบดผสม (บดด้วยไฟฟ้า) ปลุกเสกเป็นรูปพระพิมพ์ขึ้นเมื่อ ๑๕ ตุลาคม ๒๕๑๑ ตรงกับเดือน ๑๑ วันอังคาร แรม ๙ ค่ำ อันเป็นฤกษ์งามยามดีที่ให้ปฏิสนธิการอุบัติขึ้นในโลกของพระพุทธนฤมิตโชค จุดประสงค์ ขั้นแรกพระคุณเจ้าท่านพระครู ดำริจะสร้างพระอุโบสถใหม่ จะนำพระนี้เข้าบรรจุไว้ในชุกชีใต้แท่นพระประธานเพื่อสืบอายุพระพุทธศาสนาไปชั่วกาลนาน มิได้มุ่งหมายจะจำหน่ายจ่ายแจกหาผลประโยชน์ด้วยประการใด ๆ ทั้งสิ้น แต่เมื่อทำสำเร็จเป็นองค์พระขึ้นแล้ว มีนักปราชญ์บางท่านสามารถทราบล่วงรู้ถึงสรรพคุณว่าพระนี้มีพุทธานุภาพดีเลิศ ไม่ควรจะนำของดี ๆ เช่นนี้ไปฝังดินจมทรายเสียหมด แนะนำให้แบ่งส่วนจ่ายแจกแก่สาธุชนผู้ใจบุญ (ที่มาช่วยบริจาคสร้างอุโบสถ) ไว้สักการบูชาบ้างก็จะอำนวยประโยชน์อย่างมหาศาล เมื่อเป็นเช่นนี้พระคุณท่านจึงตกลงใจคล้อยตาม คือจะจ่ายแจกส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งจะบรรจุไว้ตามเจตนาเดิม แบบและขนาดของพระพิมพ์ เดิมตั้งใจทำเพียงแบบและขนาดเดียว คือเป็นปางสมาธิเกศเปลวเพลิงประทับนั่งใต้ต้นมะม่วงบนฐานบัวหงายแนวตรง ใต้ฐานด้านหน้าเป็นรูปพระธรรมจักร มีกวางหมอบสองตัว กรอบสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาด ๒.๔x๓.๗x๐.๔ ซม. ด้านหลังมีตัวอักษรจารึก "วัดอัมพวัน สิงห์บุรี" เมื่อนำพระไปให้ช่างที่พระนครแกะพิมพ์และทดลองพิมพ์แบบสำเร็จ ส่งมาให้ดูเป็นตัวอย่าง จะเป็นเพราะเทพเจ้าเข้าดลใจหรืออย่างไรก็เหลือสัณนิษฐาน พลันก็นึกอยากได้พระปางพระทานพรทรงอินเดีย (ซึ่งมีแบบอยู่แล้ว) นึกตำหนิแบบที่ ๑ ว่ารูปกวางหมอบที่ทำไปแล้วนั้นยังไม่เป็นที่พอใจ คิดไว้แต่ในใจว่าพรุ่งนี้เช้าจะเดินทางเข้าพระนครให้ช่างแก้ไขและทำแบบใหม่ วันรุ่งขึ้นจึงเดินทางเข้าพระนครกับผู้ติดตามอีกหลายท่าน เมื่อไปถึงยังมิทันพูดอะไร นายช่างบอกว่า เมื่อคืนผมนอนไม่หลับตลอดคืน เฝ้าแกะพิมพ์พระให้ท่านพระครูใหม่พร้อมกับนำมาให้ดู พอท่านพระครูเห็นเข้าเท่านั้นถึงกับขนลุก นึกว่านี่อะไรกันเหตุไรช่างทำเหมือนกับที่คิดไว้ไม่ผิดเพี้ยนประจักษ์ต่อหน้าผู้ติดตามทุกคน จึงตอบนายช่างไปว่า ที่มานี้ก็เพื่อจะให้ทำพิมพ์อย่างนี้และกวางแบบนี้นี่แหละ (ดูแบบที่ ๒) จึงตกลงให้ทำพิมพ์ที่ ๒ ขึ้นอีกนับว่าเป็นสิ่งมหัศจรรย์ที่ทุกท่านควรทราบไว้บำรุงศรัทธาส่วนหนึ่งด้วย พระแบบที่ ๒ นั้นเรียกว่า ปางประทานพร เกศบัวตูม มีอักษรขอม ๒ แถว ทางดิ่งนั้นคือ หัวใจพรพระ ๘ บท (พา มา นา อุ กะ สะ นะ ทุ) นอกนั้นมีลักษณะเหมือนแบบที่ ๑ ทุกอย่าง แต่มีขนาดเล็กกว่า มีขนาด ๒.๓x๓.๒x๐.๕ ซม. เนื้อพระทั้งหมดเป็นผงผสมแร่เคลือบน้ำมันสีน้ำตาลอ่อน บางองค์มีสีเขียวปะปนบ้าง เนื้อของพระพิมพ์แกร่งมาก ผงวิเศษและการได้มา ผงที่นำมาผสมพระพิมพ์ครั้งนี้ มี ๑๖ อย่าง ที่พระคุณเจ้าไปนำมาด้วยตนเอง ๑. แร่เศรษฐีป้อมเพชร ได้จาก จ.กำแพงเพชร (แดนเศรษฐีโบราณ) ๒. แร่ทรหด ได้จากถ้ำเชียงดาว จ.เชียงใหม่ ๓. แร่เม็ดมะขาม ได้จากเจดีย์วัดประสาท เจดีย์หักบ้านแป้ง จ.สิงห์บุรี ๔. แร่ขวานฟ้า ได้จากอาจารย์หล่ำ บ้านเตาอิฐ จ.สิงห์บุรี ๕. แร่ข้าวตอกพระร่วง ได้จาก จ.สุโขทัย ๖. แร่ขี้เหล็กไหล ได้จากเขาหลวง จ.นครสวรรค์ ๗. แร่สังคะวานร ได้จากวัดไม้แดง ค่ายบางระจัน จ.สิงห์บุรี ๘. อิฐดอกจันทร์ ได้จากวัดไม้แดง ค่ายบางระจัน จ.สิงห์บุรี ๙. คตปลวก ได้จาก โคกดินวัดพระปรางค์มุนี จ.สิงห์บุรี ๑๐.คตไม้สัก ได้จากพงพญาเย็น จ.นครราชสีมา ๑๑.ขี้ปรอท ได้จาก จ.เพชรบูรณ์ ๑๒.ผงกรุพระ ได้จากวัดพระธาตุ จ.ชัยนาท ๑๓.ผงกรุพระ ได้จากหลวงพ่อจาด จ.ปราจีนบุรี ๑๔.ผงกรุพระ ได้จากพระอาจารย์ ๑๐๘ วัดพรหมบุรี จ.สิงห์บุรี ๑๕.ผงกรุพระ ได้จากพระครูวินิจสุตคุณ วัดเสาธงทอง จ.อ่างทอง ๑๖.ผงกรุพระ ได้จากพระครูเปลี่ยน วัดสามปลื้ม จ.พระนคร

พระพุทธนฤมิตโชค สมเด็จกวางใหญ่ หลวงพ่อจรัญ วัดอัมพวัน

พระพุทธนฤมิตโชค สมเด็จกวางเล็ก หลวงพ่อจรัญ วัดอัมพวัน

ของเก๊มีออกมามากเเละนานเเล้วการเช่าซื้อควรระวังเเละศึกษาก่อนการเช่าซื้อ

0 comments:

Post a Comment